ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)
ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)

ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ หรือ นักบุญจอห์นเร่ร่อน (อังกฤษ: John the Baptist หรือ John in the Wilderness) เป็นหัวข้อที่เขียนอย่างน้อยแปดครั้งโดยคาราวัจโจ[1] ผู้เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ระหว่างปี ค.ศ. 1571 ถึงปี ค.ศ. 1610เรื่องราวของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์[2] กล่าวถึงในพระวรสาร นักบุญจอห์นเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเยซูและเป็นผู้ได้รับเรียกจากพระเจ้าให้มาปูทางให้แก่เมสไซยาห์ผู้ที่จะมาถึง นักบุญจอห์นอาศัยเร่ร่อนอยู่ในในบริเวณจูดิอาห์ระหว่างเยรูซาเลมและทะเลเดดซี “นุ่งผ้าขนอูฐและคาดเข็มขัดบนสะโพก; กินตั๊กแตนและน้ำผึ้งเป็นอาหาร” นักบุญจอห์นกระทำพิธีศีลจุ่มให้แก่พระเยซูในแม่น้ำจอร์แดน และต่อมาถูกสั่งตัดหัวโดยแฮรอด อันทิปาสเพราะนักบุญจอห์นพยายามขอให้พระองค์ปฏิรูปสิ่งที่ชั่วร้ายต่างที่ทรงทำภาพนักบุญจอห์นเป็นภาพที่นิยมวาดกันมากที่สุดภาพหนึ่งที่มักจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ประจำตัวต่างๆ ที่รวมทั้งอ่างสำหรับทำพิธีศีลจุ่ม, กางเขนที่ทำจากกิ่งไม้ และเครื่องนุ่งห่มที่ทำด้วยขนแกะหรือขนอูฐ ศิลปะที่นิยมสร้างกันก่อนการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิกมักจะเป็นภาพนักบุญจอห์นกระทำพิธีศีลจุ่มให้แก่พระเยซู หรือภาพนักบุญจอห์นและพระเยซูเมื่อยังทรงพระเยาว์กับพระแม่มารี และบางครั้งก็จะมีนักบุญเอลิซาเบธแม่ของนักบุญจอห์นประกอบด้วย การวาดแต่นักบุญจอห์นเพียงผู้เดียวไม่ว่าเมื่อจะยังเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่เป็นที่นิยมกันเท่าใดนัก ภาพที่คาราวัจโจเขียนมาจากคำบรรยายในพระวรสารนักบุญลูคที่ว่า “เด็กผู้นี้เติบโตขึ้นและมีพลังใจที่แข็งแกร่งขึ้น และอาศัยอยู่ในทะเลทรายจนกระทั่งถึงวันกำเนิดของอิสราเอล” คำบรรยายนี้เป็นคำบรรยายที่คาราวัจโจใช้ในการวาดภาพนักบุญจอห์น ซึ่งตัวแบบบางตัวก็มิได้มีลักษณะของความเป็นนักบุญเท่าใดนัก นอกจากภาพที่เป็นนักบุญจอห์นคนเดียวที่มาจากสมัยแรกของการเขียนแล้วคาราวัจโจก็ยังเขียนภาพอีกสามภาพที่มีเนื้อหาในฉากการตายของนักบุญจอห์นในภาพ “การตัดหัวนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” ที่เขียนที่มอลตา และอีกสองภาพหลังจากที่ถูกฆ่าแล้ว “ซาโลเมและหัวของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (ลอนดอน)” และ“ซาโลเมและหัวของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (มาดริด)